เปิดภาพ “รถไฟลอยน้ำ” รอบปฐมฤกษ์สัปดาห์แรกของปี กลางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เปิดภาพบรรยากาศ “รถไฟลอยน้ำ รอบปฐมฤกษ์ในสัปดาห์แรกของปี” ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

วันที่ 6 พฤศจิกายน 65 มีกล่าวว่า ขบวนรถพิเศษ นำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีสถานีต้นทางจากหัวลำโพง จ.กรุงเทพฯ และสถานีปลายทาง ณ แหล่งท่องเที่ยวรถไฟลอยน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางสัมผัสกับเส้นทางท่องเที่ยว “รถไฟลอยน้ำ หนึ่งเดียวของเมืองไทย” ในทุกๆวันเสาร์ และอาทิตย์ ตลอด เดือนพฤศจิกายน 2565 – เดือนมกราคม 2566 โดยเริ่มรอบปฐมฤกษ์ของปีทั้ง 2 วันที่ผ่านมา ต้องลากยาวถึงวันละ 17 โบกี้ แต่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละวัน จากเดิม วันละราว 1,200 คน เหลือเพียงวันละ 700-800 คน ต่อวัน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ทั้งนี้ ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะเปิดให้บริการแบบเช้าไปเย็นกลับ ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดจัดในทุกวันเสาร์ และอาทิตย์

ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2565 – เดือนมกราคม 2566 รวม 24 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้กลับมาฟื้นได้ตามนโยบายของรัฐบาล ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ สร้างความแข็งแกร่งสู่เศรษฐกิจโครงสร้างรองรับ และชุมชนให้กลับมามีความแข็งแกร่งยั่งยืน

ซึ่งขบวนรถไฟจะหยุด ณ จุดชมวิว เป็นเวลา 20 นาที ให้นักท่องเที่ยวลงถ่ายภาพ ซึ่งเป็นไฮไลต์สำคัญของทิปนี้ เพราะเป็นทริปพิเศษ ไปสู่บรรยากาศการท่องจำเที่ยวแบบวิถีชีวิตชาวเขื่อน และสนุกสนานกับขบวน “รถไฟลอยน้ำ” ที่ทอดยาวผ่านไปบนอ่างเก็บน้ำ เหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นับเป็นประสบการณ์สุดพิเศษ ของการรถไฟไทย

เปิดภาพลอยน้ำ

ทั้งนี้ ทางการรถไฟ ยังเปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวได้ แวะลงเลือกซื้อสิ้นค้า ชิม ช้อป ของพื้นบ้าน OTOP

ซึ่งมีทั้งของกิน ของฝาก ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของพื้นบ้าน บริเวณชานชาลา ที่สถานีบ้านโคกสลุง (โคก-สะ-หลุง) เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชาวชุมชนในช่วงนี้ เป็นเวลา 30 นาที แล้วหลังจากนั้นขบวนรถไฟก็จะเดินทางกลับมายังสถานีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมต่างๆบริเวณพื้นที่รอบๆของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยขบวนรถไฟเที่ยวกลับ จะออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเวลา 15.30 น.

สำหรับประวัติความเป็นมาขบวนรถไฟลอยน้ำ เดิมเป็นทางรถไฟสายกรุงเทพ บัวใหญ่ หนองคาย อยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และถัดมาพื้นที่ดังที่กล่าวถึงแล้วถูกพัฒนาเป็นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้กักเก็บน้ำ ปรับปรุงแก้ไขความเดือดร้อนของประชากร พร้อมทั้งมีการสร้างทางรถไฟยกระดับขึ้นเหนือน้ำเพื่อใช้เดินทางไปยังจังหวัดต่างๆได้ ซึ่งเมื่อขบวนรถไฟวิ่งลัดไปตามขอบของอ่างเก็บน้ำ และมองออกไปนอกหน้าต่างจะดูคล้ายกับรถไฟแล่นไปบนผิวน้ำ ขบวนรถไฟนี้ก็เลยได้ชื่อว่า “รถไฟลอยน้ำ”